ค้นพบเกณฑ์ใหม่ แนวปฏิบัติ ปริมาณสูงสุดวิตามินและแร่ธาตุที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในการขออนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ปัจจุบันในยุคที่ เทรนด์การดูแลสุขภาพเติบโต สวนทางวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงแบบเมืองที่เร่งรีบ การรับประอาหารอาจไม่ได้สัดส่วน ทำให้การบริโภคอาหารเสริม และวิตามินเสริมได้รับความนิยมมากขึ้น อย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา เป็นโอกาสของผู้ผลิตอาหารเสริม เจ้าของแบรนด์ที่ต้องการ สร้างแบรนด์อาหารเสริม ที่ติดตามเทรนความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภค รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนอปลได้ทัน รวมถึงสามารถวิจัยผลิตอาหารเสริมได้ตามความต้องการของผู้บริโภค ย่อมเพิ่มโอกาสขายได้มากขึ้น
ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศฉบับที่ 448 พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
เรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ฉบับที่ 5) สารอาหารเสริมวิตามินที่เหมาะสม ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลบังคับใช้เดือนกรกฎาคม 2567 นี้!
โดยมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับ การปรับปริมาณวิตามินหรือแร่ธาตุในอาหารเสริม
ซึ่งประกาศฯ ฉบับนี้ได้ลงราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 โดยจะมี ผลใช้บังคับในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป จึงได้มีการจัดประชุมชี้แจงผู้ประกอบการด้านอาหารและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบการผลิต หรือเตรียมความพร้อมในการปรับปรุงสูตรและฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จัดทำฉลากโภชนาการ ฉลากแบบจีดีเอ รวมถึงการกล่าวอ้างทางสุขภาพ ให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียด ที่ควรทราบ พรีมา แคร์ บริษัทรับผลิต สร้างแบรนดิอาหารเสริม รวบรวมสาระสำคัญ ให้ตามนี้ค่ะ
ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 67 เป็นต้นไป กรณีมีวิตามิน/แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบ ผ่านระบบ e-submission
วิตามินและแร่ธาตุ |
ปริมาณต่ำสุด |
ปริมาณสูงสุด |
วิตามินบี 1 |
0.18 มิลลิกรัม (จาก 0.225 มิลลิกรัม) |
100 มิลลิกรัม (จาก 1.5 มิลลิกรัม) |
วิตามินบี 2 |
0.18 มิลลิกรัม (จาก 0.225 มิลลิกรัม) |
40 มิลลิกรัม (จาก 1.7 มิลลิกรัม) |
กรดแพนโทธีนิค |
0.75 มิลลิกรัม (จาก 0.9 มิลลิกรัม) |
200 มิลลิกรัม (จาก 6 มิลลิกรัม) |
วิตามินบี 12 |
0.36 ไมโครกรัม (จาก 0.3 ไมโครกรัม) |
600 ไมโครกรัม (จาก 2 ไมโครกรัม) |
ไบโอติน |
4.5 ไมโครกรัม (จาก 22.5 ไมโครกรัม) |
900 ไมโครกรัม (จาก 150 ไมโครกรัม) |
โครเมียม |
5.25 ไมโครกรัม (จาก 19.5 ไมโครกรัม) |
500 ไมโครกรัม (จาก 130 ไมโครกรัม) |
วิตามินเค |
9 ไมโครกรัม (จาก 12 ไมโครกรัม) |
80 ไมโครกรัม |
กรดนิโคทินิก |
2.25 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 3 มิลลิกรัมเอ็นอี) |
15 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 20 มิลลิกรัมเอ็นอี) |
แมกนีเซียม |
46.5 มิลลิกรัม (จาก 52.5 มิลลิกรัม) |
350 มิลลิกรัม (จาก 350 มิลลิกรัม) |
ฟอสฟอรัส |
105 มิลลิกรัม (จาก 120 มิลลิกรัม) |
800 มิลลิกรัม |
เหล็ก |
3.3 มิลลิกรัม (จาก 2.25 มิลลิกรัม) |
15 มิลลิกรัม |
สังกะสี |
1.65 มิลลิกรัม (จาก 2.25 มิลลิกรัม) |
15 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม |
525 มิลลิกรัม |
3,500 มิลลิกรัม |
โซเดียม |
- |
- |
วิตามินเอ |
120 ไมโครกรัมอาร์อี (จาก 120 ไมโครกรัมอาร์อี) |
800 ไมโครกรัมอาร์เออี |
วิตามินดี |
2.25 ไมโครกรัม (จาก 0.75 ไมโครกรัม) |
15 ไมโครกรัม (จาก 5 ไมโครกรัม) |
วิตามินอี |
1.35 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี (จาก 1.5 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี) |
10 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี |
นิโคตินามายด์ |
2.25 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 3 มิลลิกรัมเอ็นอี) |
20 มิลลิกรัมเอ็นอี |
วิตามินบี 6 |
0.195 มิลลิกรัม (จาก 0.3 มิลลิกรัม) |
2 มิลลิกรัม |
โฟเลต |
60 ไมโครกรัม(จาก 30 ไมโครกรัม) |
330 ไมโครกรัม ดีเอฟอี(จาก 200 ไมโครกรัม) |
กรดโฟลิก |
(คำนวณเป็นโฟเลต) |
200 ไมโครกรัม |
วิตามินซี |
15 มิลลิกรัม (จาก 9 มิลลิกรัม) |
1,000 มิลลิกรัม (จาก 60 มิลลิกรัม) |
แคลเซียม |
150 มิลลิกรัม (จาก 120 มิลลิกรัม) |
800 มิลลิกรัม |
โมลิบดินัม |
6.75 ไมโครกรัม (จาก 24 ไมโครกรัม) |
160 ไมโครกรัม |
ซีลีเนียม |
9 ไมโครกรัม (จาก 10.5 ไมโครกรัม) |
70 ไมโครกรัม (μg) |
ทองแดง |
135 ไมโครกรัม (จาก 0.3 มิลลิกรัม) |
2000 ไมโครกรัม (จาก 2 มิลลิกรัม) |
แมงกานีส |
0.45 มิลลิกรัม (จาก 0.525 มิลลิกรัม) |
3.5 มิลลิกรัม (mg) |
ไอโอดีน |
22.5 ไมโครกรัม (จาก 22.5 ไมโครกรัม) |
150 ไมโครกรัม (μg) |
ฟลูออไรด์ |
- |
- |
จะเห็นได้ว่าปริมาณวิตามินหรือแร่ธาตุอาจมีทั้งเพิ่ม/ลดปริมาณต่ำสุดและสูงสุดในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นอกจากนี้ยังไม่ต้องมีโซเดียมและฟลูออไรด์เป็นสารสำคัญในอาหารเสริมแล้ว ผู้ประกอบการที่จะยื่นคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรใหม่ สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศฯ ฉบับใหม่ (ป.448) ได้เลย แต่ สำหรับอาหารเสริมที่ใช้ปริมาณวิตามินตามประกาศฉบับเก่าหรือได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ(ก่อน 2 กรกฎาคม 2567)หรือที่เรียกว่ารายเดิม ผ่อนผันให้ ยังคงขายต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2570 หากมีความประสงค์จะขายต่อไปต้องแก้ไขปริมาณวิตามินให้เป็นไปตามประกาศ 448
เพราะฉะนั้นตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2570 อาหารเสริมที่จำหน่ายบนท้องตลาดจะต้องมีปริมาณสารอาหารให้เป็นไปตามที่ ประกาศฯ ฉบับที่ 448 กำหนดเท่านั้น โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://food.fda.moph.go.th/
หรือหากสนใจผลิต สร้างแบรนด์อาหารเสริมวิตามิน ต้องการผลิตอาหารเสริม วิตามิน ตามประกาศนี้ สามารถปรึกษาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ พรีมา แคร์ โรงงานรับผลิตอาหารเสริมวิตามิน ยินดีให้บริการ
แนะนำสูตรผลิตอาหารเสริม สูตรทำแบรนด์อาหารเสริมผงวิตามิน >> วิตามินผง <<
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
55/5 หมู่ 7 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
111/888 หมู่ 5 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
จันทร์ - เสาร์
08.30 - 17.30
ช่องทาง SOCIAL MEDIA สำหรับ PREMA CARE
เพื่อรับคำปรึกษาสร้างแบรนด์ทำแบรนด์