เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2567 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกคู่มือ การโฆษณาเครื่องสำอาง ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567 ซึ่งเอกสารนี้ได้สรุปหลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องสำอางไว้ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ควรรู้ เพื่อรักษาสิทธิของตน
เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2567 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกคู่มือ การโฆษณาเครื่องสำอาง ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567 ซึ่งเอกสารนี้ได้สรุปหลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องสำอางไว้ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ควรรู้ เพื่อรักษาสิทธิของตน และมีส่วนที่มีประโยชน์ต่อผู้ผลิตเครื่องสำอางค่อนข้างมาก นั่นคือส่วนของ Do และ Don't โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงสำคัญดังนี้ค่ะ
1. การปรับปรุงแนวทางโฆษณา ปรับปรุงคู่มือโฆษณาเครื่องสำอางให้ทันสมัยเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการตลาดออนไลน์
2. การลดแลกแจกแถม ต้องระบุรายละเอียดต่างๆ อย่างโปร่งใสและชัดเจน ทั้งหลักเกณฑ์การแจก วันเวลา รวมทั้งมีการจดทะเบียนอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ค่ะ
3. การโฆษณาที่เป็นความจริง ข้อความโฆษณาต้องเป็นจริง ตรวจสอบได้ และไม่เกินความจริงหรือยากต่อการพิสูจน์ ห้ามโฆษณาว่ามีผลต่อสุขภาพหรือโครงสร้างร่างกาย รักษาโรค หรือนำไปสู่ความเข้าใจผิดค่ะ
4. ห้ามอ้างสรรพคุณทางยา ห้ามใช้ข้อความที่สื่อถึงสรรพคุณในการรักษาโรคหรือคุณสมบัติที่ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง
5. การโฆษณาเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบสามารถทำได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ของตนเอง ห้ามใช้ข้อความที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม
6. การอ้างอิงบุคลากรทางการแพทย์ ควรหลีกเลี่ยงการอ้างอิงบุคลากรทางการแพทย์ในการโฆษณา ยกเว้นในกรณีที่มีความเกี่ยวข้องชัดเจนและได้รับความยินยอม
7. การใช้รางวัลหรือเครื่องหมายในโฆษณา ต้องแสดงหลักฐานการได้รับรางวัลหรือเครื่องหมายต่างๆ อย่างถูกต้องและโปร่งใส การอ้างอิงงานวิจัยหรือหลักฐานทางวิชาการต้องสามารถตรวจสอบได้ค่ะ
8. ห้ามโฆษณาด้วยวิธีที่ก่อให้เกิดอันตราย การโฆษณาต้องไม่กระทำด้วยวิธีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพกายหรือจิตใจ และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี
สิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้พวกเราสามารถนำคู่มือฉบับนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ ก็คือการระบุข้อความที่อนุญาต ("Do") และไม่อนุญาต ("Don't") สำหรับการโฆษณาเครื่องสำอาง เพื่อความชัดเจนและสอดคล้องกับกฎหมายค่ะ โดยสามารถนำเครื่องสำอางมาแบ่งประเภทออกเป็น 23 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีแนวทาง "Do" และ "Don't" ของตนเอง ทำให้พิจารณาได้ว่า ข้อความโฆษณาของเครื่องสำอางชนิดนั้นที่เราเห็น เป็นไปตามกฏหมายหรือไม่นั่นเองค่ะ
Do - ใช้ข้อความ “แลดูขาว” “แลดูกระจ่างใส” อ้างข้อมูลการทดสอบโดยกล่าวว่าผลลัพธ์เป็นไปตามสภาพผิวของแต่ละบุคคล
Don’t - ใช้ข้อความที่กล่าวว่าทำให้ผิวขาวขึ้นกว่าสีผิวเดิมตามธรรมชาติ
Do - ใช้ข้อความสื่อถึงการชะลอริ้วรอยระหว่างใช้เครื่องสำอาง หรือมีสารต้านอนุมูลอิสระ
Don’t - ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ
Do - ใช้บำรุงผิวที่เป็นสิว หรือใช้สำหรับผิวมันเป็นสิวง่าย
Don’t - ใช้ข้อความป้องกันสิว รักษาสิว หรือลดสิว
Do - แสดงค่า SPF หรือ PA รวมทั้งระบุวิธีการใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
Don’t - ป้องกันได้ยาวนานโดยไม่ต้องทาซ้ำ หรือป้องกันรังสียูวีได้ 100%
Do - ช่วยในการทำความสะอาดและลดการสะสมของแบคทีเรีย
Don’t - ฆ่าเชื้อโรค มีสัญลักษณ์หรือสรรพคุณทางยา
Do - เคลือบผมให้ลื่น หวีง่าย ดูแลจากโคนจรดปลายผม ลดผมขาดหลุดร่วงจากผมเสีย
Don’t - ห้ามระบุข้อความลดผมร่วงโดยไม่ระบุสาเหตุ หรือบำรุงถึงรากผม
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการโฆษณา ผู้โฆษณาสามารถยื่นคำขอความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายในการโฆษณาอาจต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติค่ะ
สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และดาวโหลดคู่มือฉบับเต็ม ได้ที่ https://pr.moph.go.th/online/index/news/304347online/index/event
หากคุณกำลังมองหาโอกาสธุรกิจใหม่ ด้วยการเป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางคุณภาพดีที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย พร้อมผู้ให้คำปรึกษาด้านกฏหมายและการตลาดที่พร้อมสนับสนุนให้แบรนด์ของคุณก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง สั่งผลิตเครื่องสำอาง มาร์คหน้า ครีม เซรั่ม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละกลุ่มผู้ใช้ ผู้บริโภคถูกใจ ปลอดภัยจากสารพิษ ดูแลเหมือนญาติมิตร ใกล้ชิดตั้งแต่ธุรกิจการสร้างแบรนด์ตัวเองไปจนถึงจัดจำหน่าย ได้มาตรฐาน ด้วยโรงงานทันสมัย ได้รางวัลระดับประเทศและระดับสากล สนใจติดต่อเราสิคะ บริษัท พรีม่าแคร์ จำกัด 0808-108-109
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
55/5 หมู่ 7 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
111/888 หมู่ 5 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
จันทร์ - เสาร์
08.30 - 17.30
ช่องทาง SOCIAL MEDIA สำหรับ PREMA CARE
เพื่อรับคำปรึกษาสร้างแบรนด์ทำแบรนด์