4 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ ปิดการขายได้ง่ายขึ้นด้วย ’AIDA Model’ โมเดลทำการตลาดที่เจ้าของแบรนด์ตัวเองต้องรู้ มาทำความรู้จักกับ AIDA Model พร้อมกรณีศึกษาจากบริษัทโดนัทชื่อดังในบทความนี้กันค่ะ
ในยุคที่การแข่งขันทางการตลาดสูง การเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าจึงเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ โมเดล AIDA เป็นเครื่องมือที่นักการตลาดใช้มานานกว่าศตวรรษ เพื่ออธิบายถึง 4 ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งเป็นโมเดลที่เจ้าของแบรนด์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งการทำคอนเทนต์ การยิงแอดโฆษณา และอื่นๆได้อีกมากมาย เพื่อดึงดูดความสนใจและปิดการขายได้ง่ายดายขึ้น
AIDA หรือไอด้า โมเดล เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากๆ แบรนด์หรือธุรกิจที่ทำได้ครบและดีเริ่ดทุกสเตปตามหลักการ เผลอๆอาจจะสร้างยอดขายจากเคมเปญนั้นกลับมาเป็นหลัก 1000 ล้านโดยไม่รู้ตัว วันนี้เราจึงนำเสนอ Case study โมเดลนี้ให้ลองอ่านกันค่ะ (นำมาจากวิดีโอชื่อ Dunkin' Donuts Flavor Radio (2012 Cannes Lions ลองเสิร์ชดูนะคะ) เผื่อผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ท่านใดจะได้ไอเดียใหม่ๆไปลองปรับใช้กับธุรกิจกันดู
เหตุเกิดจากว่าบริษัทโดนัสชื่อดังเจ้าหนึ่งของโลกต้องการขยับตัวเองมาขายกาแฟ แต่ขายมาซักพัก คนก็ยังมองว่าแบรนด์แกร่งแค่โดนัส ไม่ได้เด่นเรื่องกาแฟซักที ฝ่ายมาร์เก็ตติ้งจึงจับโมเดล AIDA มาใช้
A - Attention: ดึงดูดความสนใจ
I - Interest: กระตุ้นความสนใจ
D - Desire: กระตุ้นความต้องการ
A - Action: กระตุ้นการตัดสินใจ
A ที่มาจาก Attention คือการดึงดูดความสนใจ เป็นขั้นตอนแรกที่เจ้าของแบรนด์ ที่อยากเริ่มต้นสร้างแบรนด์ตัวเองให้น่าจดจำ ควรพิจารณาในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้สนใจ และกระตุ้นให้พวกเขาอยากรู้จักแบรนด์ และสินค้าหรือบริการของเรา ตามปกติการดึงดูดความสนใจนี้จะใช้หลักการประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) บริษัทโดนัสเจ้านี้เลือกใช้เสียงและกลิ่นร่วมกัน โดยเค้าได้ไปติดตั้งกลิ่นกาแฟ ที่จะปล่อยออกมาทุกครั้งที่มีเสียงดนตรีร้านโดนัส (เป็นเทคนิคการติดตั้งแบบพิเศษของเค้า)โดยสถานที่ติดตั้งคือภายในรถเมล์ยามเช้า เพราะเค้ามีการสำรวจมาแล้วว่าเช้าๆเนี่ย คนมักไม่ค่อยตื่นตัว (นึกภาพเรางัวเงียในรถเมล์ที่แออัดยามเช้าออกใช่มั้ยคะ) พอคนง่วงๆ ได้ยินเสียงดนตรีจากวิทยุผสานกับกลิ่นกาแฟ ก็ ปัง!! เรียก Attention ได้แล้ววว
ซึ่งความสำคัญในขั้นตอนนี้ คือการที่นักการตลาดและเจ้าของแบรนด์ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนอยู่เสมอ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด อย่างเช่น หากทำธุรกิจอาหารเสริม ทำแบรนด์อาหารเสริมลดความเครียด ซึ่งเป็นปัญหาที่กลุ่มวัยทำงานมักเจอ คอนเทนต์ที่ใช้เพื่อดึงดูดความสนใจ เจ้าของแบรนด์อาหารเสริมการนำเสนอเกี่ยวกับปัญหาที่คนทำงานมักเผชิญบ่อยๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตระหนัก ในสิ่งที่เป็นปัญหาของเขา เป็นต้น
I หรือ Interest คือขั้นกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกสนใจมากขึ้น โดยใน Case Study ร้านโดนัทคือ คนในรถจากที่ง่วงๆก็จะตื่นมาสอดส่ายที่มาของกลิ่นซึ่งให้ความรู้สึกว่าเห้ย หอมเหมือนกาแฟเลย ในระหว่างนั้นฝ่ายการตลาดก็ย้ำ I ลงไปด้วยการติดป้ายกาแฟของแบรนด์ไว้ระหว่างทางที่รถเมล์ผ่าน เป็นการดึงดูดคนในรถเมล์ทางสายตาว่านี่แหละกาแฟของแบรนด์โดนัสเจ้านี้ เริ่มเห็นการดึงดูด ล่อตาล่อใจ ให้ลูกค้าหันมาพิจารณาในการซื้อกาแฟจากร้านโดนัทเจ้านี้กันแล้วใช่มั้ยคะ (ให้อารมณ์ป้ายเซลล์สีแดงเถือกที่ล่อให้เราต้องเข้าไปนั่นแหละ)
โดยขั้นตอนนี้นักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์จะต้องทำให้ลูกค้าอยากรู้จักมากขึ้น สนใจสินค้ามากขึ้น อาจนำเสนอคอนเทนต์สินค้าที่ดึงดูด ว่าทำไมลูกค้าต้องซื้อ สินค้าของเราจะช่วยแก้ปัญหาของเขาได้อย่างไร แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า คุณสมบัติ ประโยชน์ หรือจุดเด่นของแบรนด์ เป็นต้น
หลังจากรับรู้เสียง กลิ่น และเห็นกาแฟทางสายตาแล้ว ทีนี้คนในรถเริ่มอยู่ไม่นิ่งกันล่ะค่ะ ต่างคนต่างคิดว่าไม่ได้การละ เดี๋ยวลงจากรถก่อนเข้าทำงานต้องจัดให้ชื่นใจซักแก้ว ซึ่งในช่วงที่คนเริ่มเกิดความปรารถนานี้ ฝ่ายการตลาดของแบรนด์ก็ไม่ได้จบแค่ป้ายโฆษณาอันเดียวนะคะ ย้ำป้ายตลอดทาง ผสานกับดนตรีและกลิ่นกาแฟมาเป็นระยะ เอาให้ลงแดงกันไปเลย
เมื่อลูกค้ารู้จัก(Attention) และสนใจ(Interest) เราแล้ว ขั้นต่อไป เจ้าของแบรนด์ต้องกระตุ้นความต้องการซื้อของลูกค้าออกมาให้ได้มากที่สุด อย่าง คอนเทนต์รีวิวสินค้าจากผู้ใช้งานจริง หรือทำคอนเทนต์ที่ให้ลูกค้ารู้สึกว่า สินค้าเราแก้ปัญหาเขาได้จริงๆ ผลลัพธ์หลังการใช้ เป็นต้น
จากนั้นที่ทำมาทั้งหมดคือเพื่อให้ขายของได้ สิ่งที่แบรนด์ทำคือ ณ จุดจอดป้ายรถเมล์ จะมีร้านโดนัสของแบรนด์ซึ่งมีรูป กลิ่น เสียงกาแฟล่อลวงมาตลอดทางขายอยู่นั่นเอง คนบนรถต่างก็เฮโลกันไปซื้อกาแฟมาลิ้มลอง จบโปรเจคนี้ก็ไม่อะไรมากแค่ยอดขายที่พุ่งขึ้นมาแบบอลังการงานสร้าง พร้อมกับที่ผู้บริโภคจดจำได้แล้วว่าแบรนด์โดนัสเจ้านี้ขายกาแฟที่รสชาดดีด้วย ก็จัดว่าเป็นการประสบความสำเร็จที่งดงามเลยล่ะค่ะ
ตัว A ตัวสุดท้ายของโมเดลจึงมาจาก Action คือการที่ลูกค้าเกิดการลงมือทำอะไรบางอย่าง เช่น กรอกแบบฟอร์ม จองสินค้า เพิ่มสินค้าลงตะกร้าสินค้า และกดสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น เพื่อทำให้เกิดการปิดการขายได้ในที่สุด สิ่งที่นักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์ควรทำก็คือ ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกในการทำ Action ให้ได้มากที่สุด อย่าง การทำ call to action เช่น ‘เหลือ 2 ชิ้นสุดท้าย’ หรือ ‘สั่งเลย’ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการซื้อได้สะดวกและรวดเร็ว นำเสนอโปรโมชั่น/ข้อเสนอพิเศษ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกพลาดไม่ได้ ต้องตัดสินใจซื้อทันที เป็นต้น
ที่ยกตัวอย่างแบรนด์โดนัสมานี้ก็เป็นกรณีศึกษาหนึ่งซึ่งคุณสามารถนำไปใช้กับธุรกิจความงามได้ PS จะยกตัวเองเคสเรื่องผลิตภัณฑ์ความงามเอาง่ายๆเช่นผลิตภัณฑ์แต้มสิว A ใช้การดึงดูดความสนใจด้วยการให้คนรีวิวแบบตูมๆ คือหันไปทางเวปไหนก็เจอว่ามีแต่คนบอกว่าเจลตัวนี้แต้มแล้วสิวยุบแบบเห็นผลจริง ทำให้คนรู้สึกสนใจอีกนิดโดยการบอกว่าเดือนนี้ลดราคาช่วงเปิดตัวจาก 350 เหลือ 199 ทีนี้เชื่อว่าในใจผู้บริโภคจะเกิดความรู้สึกว่าชั้นต้องเป็นเจ้าของให้ได้ แล้วก็เกิดการกระทำคือไปซื้อมาทดลองใช้นั่นเอง จะเห็นว่าหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง โมเดลนี้ก็จะไม่สมบูรณ์แบบและอาจไม่ประสบความสำเร็จได้ เช่น อยู่ดีๆของหมดสต็อค ขาดทุกร้านทำให้ Action ไม่สำเร็จ ที่ทำมาทั้ง 3 สเตป(AID) ก็ล้มเหลวได้เพราะความรู้สึกของคนเริ่มหายไปเรื่อยๆ หรือเจอแบรนด์อื่นที่มาดึงดูดมากกว่า
ดังนั้นกฎเหล็กของโมเดลนี้คือทำแล้วต้องทำให้ครบทั้งสี่อย่าง จบให้สมบูรณ์แบบแล้วเงินล้านก็จะตามมาค่ะ สนใจเป็นเจ้าของแบรนด์ความงามของตัวเอง ปรึกษาเรื่องการผลิตครีม การผลิตเครื่องสำอาง และผลิตอาหารเสริมได้ที่ พรีมา แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เราเป็นโรงงานรับผลิตครีม รับผลิตเครื่องสำอางและรับผลิตอาหารเสริม รวมถึงบริการสร้างแบรนด์ครีม สร้างแบรนด์เครื่องสำอาง และสร้างแบรนด์อาหารเสริมที่มีคุณภาพและชำนาญการ มีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา ในทุกความต้องการที่คุณคาดหวังค่ะ
ช่องทางการติดต่อ
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
55/5 หมู่ 7 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
111/888 หมู่ 5 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
จันทร์ - เสาร์
08.30 - 17.30
ช่องทาง SOCIAL MEDIA สำหรับ PREMA CARE
เพื่อรับคำปรึกษาสร้างแบรนด์ทำแบรนด์