เวชสำอาง(Cosmeceutical) ต่างจากเครื่องสำอาง/สกินแคร์(Cosmetic/Skincare) อย่างไร อยากหาบริษัทโรงงานรับผลิตทำสร้างแบรนด์เวชสำอาง ทำไงดี
ธุรกิจสร้างแบรนด์ทำแบรนด์เวชสำอาง(Cosmeceutical) ครีม สกินแคร์(skincare) เครื่องสำอาง(Cosmetic) ของตัวเอง มีการก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว การนำเสนอจุดขายเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และคำศัพท์ที่นิยมกันในวงการนี้ก็คือ "เวชสำอาง" บางแบรนด์เคลมว่าตนเองขายสินค้าขายเวชสำอาง พออ่านสรรพคุณก็งงๆ ว่าอันไหนคือเครื่องสำอาง อันไหนคือเวชสำอาง แล้วเวชสำอาง กะ เครื่องสำอาง แตกต่างกันอย่างไร ทางพรีมา แคร์ฯ ในฐานะ โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง โรงงานรับผลิตเวชสำอาง หากท่านใดต้องการผลิตเวชสำอาง สร้างทำแบรนด์เวชสำอาง ก็น่าจะอ่านบทความนี้ที่ได้รวบรวมข้อมูลมาเพื่ออธิบายกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจกันค่ะ
เวชสำอาง (Cosmeceuticals) มีรากศัพท์มาจากคำว่า Cosmetic + Pharmaceutical ซึ่งเป็นคำที่ได้รับการกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 โดย Raymond Reed ในขณะนั้นคำว่าเวชสำอาง จึงหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติระหว่างยาและเครื่องสำอาง คือ เป็นเครื่องสำอางที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งหมายให้สูตรสามารถออกฤทธิ์หรือมุ่งหมายให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของชั้นผิวหนัง(ในปัจจุบันจะเน้นในผิวหนังชั้นนอกเป็นหลัก) โดยเวชสำอางจะไม่เน้นเรื่องของการเสริมความงาม แต่จะเน้นประสิทธิภาพ โดยสารออกฤทธิ์ผสมอยู่ในปริมาณที่เหมาะพอที่จะทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จากนิยามข้างต้นจะเห็นได้ว่าเครื่องสำอางนั้นจะเน้นในเรื่องของความสวยงาม ขณะที่เวชสำอางนั้นจะเน้นในเรื่องประสิทธิภาพ เห็นผลจริงหลังการใช้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เวชสำอางได้แก่ เวชสำอางสำหรับต่อต้านริ้วรอย ทำให้ผิวขาวกระจ่างใส และผลิตภัณฑ์กันแดด เป็นต้น
แหล่งข้อมูลทางแถบประเทศอเมริกา สินค้าที่เข้าค่ายนิยามว่าเป็น "เวชสำอาง - Cosmeceutical" คือยาที่ขายในร้านขายยาประเภทที่ซื้อได้เลยไม่ต้องมีใบสั่งยา ดูจากนิยามที่อเมริกาใช้ คำว่า "สกิน แคร์" ทุกประเภทน่าจะจัดเป็นเวชสำอางทั้งหมด ส่วนเครื่องสำอางสำหรับอเมริกา คือ "เครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า"
แต่บางที่นั้นก็ได้นิยามว่าเวชสำอาง คือ เครื่องสำอางที่มีเปอเซนต์ของสารสำคัญอยู่ในโดสเข้มข้น แต่ไม่เท่ากับยา ทำให้ออกฤทธิ์ได้เร็ว และไวมากขึ้น แต่มันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวใบบางสภาพ เครื่องสำอางที่จัดเป็นเวชสำอาง สามารถดูได้ง่ายๆ คือ จะมีส่วนผสมดังต่อไปนี้ ส่วนผสมของวิตามินต่างๆ ที่ดัดแปลงรูปให้คงตัวมากขึ้น สารรูปแบบใหม่ เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน ไลโปโซม เปปไทด์ ไกลโคสมิโนไกลแคน หรือพวกแอนตี้ออกซิแดนซ์ เอเฮชเอ บีเฮชเอ สารป้องกันแดดทั้งกายภาพ และเคมี เป็นต้น (ข้อมูลนี้มาจาก งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม 3 เรื่องเวชสำอาง : สถานภาพปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2549 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดย ภญ.สิริวรรณ ฉายะศรีวงศ์ เป็นผู้เรียบเรียง)
บางแหล่งบอกว่าหากมองกันดีๆ คำว่าเวชสำอาง เกิดจากการรวมคำของเครื่องสำอาง และยา ดังนั้นเวชสำอาง คือ เครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างผิวหนัง แต่ไม่ถึงกับเป็นยาซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้รักษาให้หายจากอาการของโรค ไม่เหมือนเครื่องสำอาง เครื่องสำอางถูกกำหนดอย่างชัดเจน คือ ไม่สามารถบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค หรือมีผลต่อโครงสร้าง หรือทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายมนุษย์ เป็นเพียงวัตถุที่มีไว้ตบแต่งให้เกิดความสวยงาม หรือที่เรียกกันว่า "เครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า"
หรือลองไปอ่านบทความนี้ดูว่า เวชสำอางต่างจากเครื่องสำอาง ครีม ทั่วไปอย่างไร 3 คุณสมบัติที่ทำให้เวชสำอางแตกต่างจากเครื่องสำอาง กันได้อีกทาง
สรุปได้ว่าจากการรวบรวมข้อมูล คำว่า "เวชสำอาง" ก็จะนิยมแตกต่างกันออกไป ไม่แน่นอนมากนัก จริงๆ แล้ว คำศัพท์คำนี้ ยังไม่ได้รับการบรรจุให้เป็นนิยามอย่างถูกต้องทั้งใน อย. ไทย และต่างประเทศ แต่หากตามกฎหมายของประเทศไทยแล้ว คำว่า "เวชสำอาง" มิใช่ประเภทของเครื่องสำอางที่ กองควบคุมเครื่องสำอาง อย. กำหนดไว้แต่อย่างใด ผู้ขายสามารถใช้นิยามไหนก็ได้เพื่อเคลมว่าสินค้าเป็นเวชสำอาง หากเมื่อไหร่ อย. ไทย ระบุชัดๆ ถึงตอนนั้นก็ต้องมาดูกันว่า อย. ไทย มีข้อกำหนดให้ทำการเคลมเวชสำอางว่าอย่างไร หรือ ต้องมีอัตราส่วนของวัตถุดิบใด ปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะถือว่าเป็น cosmecuetical ได้ ถึงจะทำการปรับปรุงสูตรสินค้าให้เป็นไปตามข้อกำหนดนั้นๆ กันค่ะ หากต้องการสร้างทำแบรนด์เวชสำอางของตัวเอง ติดต่อเราได้นะคะ แอดไลน์เราได้เลยค่ะ Line ID : @premacare กันมาเร็วๆ นะคะ
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
55/5 หมู่ 7 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
111/888 หมู่ 5 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
จันทร์ - เสาร์
08.30 - 17.30
ช่องทาง SOCIAL MEDIA สำหรับ PREMA CARE
เพื่อรับคำปรึกษาสร้างแบรนด์ทำแบรนด์