ในฐานะBusiness Strategic Partner–เพื่อนคู่คิดของคุณในการผลิตสร้างทำแบรนด์ครีม เครื่องสำอาง เวชสำอาง ขออนุญาต updateกฎหมาย
พรีมา แคร์ฯ บริษัทรับผลิตเวชสำอาง บริษัทรับผลิตเครื่องสำอาง ในฐานะ A Business Strategic Partner – เพื่อนคู่คิดของคุณในการรับผลิต สร้างทำแบรนด์ครีม อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชสำอาง ขออนุญาต update กฎหมายที่เพิ่มขึ้นมา ตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง ฉลากของเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่พึ่งประกาศออกมาในวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมาค่ะ
เรานำเนื้อหาสาระของ ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง มาให้อ่านกันง่ายๆ ตามนี้ ค่ะ
ข้อ ๑ ฉลากของเครื่องสำอางที่ขายในประเทศต้องจัดหรือติดแสดงไว้ในที่เปิดเผย มองเห็น และอ่านได้ชัดเจนที่เครื่องสำอาง หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของภาชนะบรรจุเครื่องสำอาง และ ต้องระบุข้อความ ดังต่อไปนี้
(ข้อนี้หมายความว่า ฉลากกำหนดให้มีทุกข้อมูลตามที่ระบุนะคะ)
(๑) ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้าของเครื่องสำอาง ซึ่งต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น
(๒) ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง
(๓) ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งจะต้องเป็นชื่อตามตำราที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกาหนด และจะต้องเรียงลาดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย
กรณีสีที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง หรือสารที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าร้อยละ ๑ ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ แต่ให้ชื่อสารเหล่านั้นอยู่ถัดจากสารที่มีความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ ๑
(๔) วิธีใช้
(๕) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต กรณีที่เป็นเครื่องสำอางนำเข้า
(๖) ปริมาณสุทธิ
(๗) เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต
(๘) เดือน ปี ที่ผลิต หรือ ปี เดือน ที่ผลิต
(๙) เดือน ปี ที่หมดอายุ หรือ ปี เดือน ที่หมดอายุ
(๑๐) คำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออนามัยของบุคคลตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอางว่าด้วยเรื่องคำเตือน หรือข้อความเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค (ถ้ามี) เช่น คำเตือน
(๑๑) เลขที่ใบรับจดแจ้ง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด
ข้อ ๒ ฉลากของเครื่องสำอางที่ขายในประเทศต้องใช้ข้อความภาษาไทย และมีขนาดที่สามารถอ่านได้ชัดเจน อาจมีข้อความอื่นหรือมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ ยกเว้นชื่อของสารที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสาอาง อาจใช้ภาษาไทย หรือเขียนภาษาไทยทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือใช้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ในกรณีที่มีการใช้สารอนุภาค nano เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสาอาง ให้ระบุข้อความ “(nano)” ข้างท้ายชื่อสาร
(ฉลากเครื่องสำอางต้องยืนพื้นว่าต้องใช้ข้อความภาษาไทยเป็นหลัก และ ต้องอ่านได้ชัดเจนค่ะ ส่วนในรายการสารหากมีการใช้อนุภาค nano ต้องระบุให้เห็นในรายการส่วนประกอบด้วยค่ะ)
ข้อ ๓ ในกรณีของเครื่องสำอางที่ขายในประเทศที่มีภาชนะบรรจุขนาดเล็ก และมีพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า ๒๐ ตารางเซนติเมตร อย่างน้อยต้องแสดงข้อความตามข้อ ๑ (๑) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) สำหรับข้อความตามข้อ ๑ นอกจากที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงไว้ที่ใบแทรก หรือเอกสารหรือคู่มือที่ใช้ประกอบเครื่องสำอางนั้นด้วย
(กรณีฉลากเครื่องสำอางมีพื้นที่น้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้ระบุชื่อเครื่องสำอางและชื่อแบรนด์, เลขที่ผลิต, ข้อมูลเวลาผลิตสินค้า, ข้อมูลสิ้นอายุของสินค้า และ
เลขที่ใบรับจดแจ้ง ตอนนี้ประกาศฉบับนี้ให้ระบุเป็น คำว่า “เลขที่ใบรับจดแจ้ง” นะคะ)
ข้อ ๔ ให้เครื่องสำอางซึ่งนำเข้ามาเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำฉลากเป็นภาษาไทยที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ ในขณะนำเข้าที่ด่านตรวจสอบเครื่องสาอาง แต่ต้องจัดทำฉลากเป็นภาษาไทยภายใน ๓๐ วัน นับแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ตรวจปล่อยให้นำเข้าแล้ว
(ข้อนี้ใครผลิตสินค้ากับโรงงานในประเทศ ข้ามไปได้เลยค่ะ)
ข้อ ๕ ฉลากของเครื่องสำอางที่ผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า
(ข้อนี้ใครไม่ได้ผลิตเพื่อส่งออก และ ขึ้นทะเบียนเป็นประเภทเพื่อส่งออกเท่านั้น ไม่ต้องคิดอะไรมาก ข้ามไปเลยค่ะ)
ข้อ ๖ ฉลากของเครื่องสำอางที่ขายในประเทศต้องมีข้อความ รูป รูปภาพ รอยประดิษฐ์เครื่องหมาย ตรา หรือเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นภาษาใด ที่ปรากฏในฉลาก ต้อง
(๑) ไม่เป็นเท็จหรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อ หรือไม่ทาให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ
(๒) ไม่แสดงถึงชื่อเครื่องสำอาง ส่วนประกอบของเครื่องสำอาง อัตราส่วนของเครื่องสำอาง ปริมาณของเครื่องสำอาง หรือแสดงถึงสรรพคุณของเครื่องสาอางอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวง ให้เกิดความหลงเชื่อ หรือทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ
(๓) ไม่ทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุตามข้อความ ชื่อ รูป รูปภาพ รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวผสมอยู่ในเครื่องสำอางโดยที่ไม่มีวัตถุนั้นผสมอยู่ หรือมีส่วนผสมอยู่ในปริมาณ ที่ไม่อาจแสดงสรรพคุณตามข้อความที่กล่าวอ้าง
(๔) ไม่พ้องเสียง พ้องรูป กับคำหรือข้อความที่สื่อถึงคุณประโยชน์ คุณภาพ สรรพคุณ อันเป็นการโอ้อวด หรือเป็นเท็จ หรือเกินจริง หรือหลอกลวงทาให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
(๕) ไม่ขัดกับวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงามของไทยหรือส่อไปในทางทำลายคุณค่าของภาษาไทย ไม่ส่งเสริมหรืออาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความแตกแยก หรือผลกระทบในเชิงลบทั้งทางตรง หรือทางอ้อมต่อสังคม วัฒนธรรม ศีลธรรม ประเพณี หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวกับเพศ ภาษา และความรุนแรง
(ข้อนี้เหมือนทำง่าย แต่ต้องคิดเยอะมากว่าทำยังไงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดนี้นะคะ เช่น ถ้าโลโก้เราเป็นรูปดอกบัว และในสูตรเราไม่มีสารสกัดดอกบัวผสมอยู่ มีแนวโน้มว่าต้องรีบปรับสูตรให้มีสารสกัดดอกบัวอยู่ในสูตรค่ะ
อีกตัวอย่างหนึ่ง การใส่รูปส้ม แทน คำว่าวิตามินซี ถ้ายึดตามประกาศฉบับนี้ ต้องมีหลักฐานแสดงว่า วิตามินซี ที่ใช้ในสูตร ผลิตจากส้มนะคะ ไม่งั้นก็ขัดกับข้อความตามประกาศค่ะ
สรุปออกแบบโลโก้ ออกแบบฉลาก ออกแบบกล่อง ต้องคิดมากขึ้นแล้วค่ะ ว่าสิ่งที่ออกแบบไม่ขัดกับประกาศข้อนี้)
ข้อ ๗ ให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องสำอางที่ได้จัดทำฉลากไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ทำการแก้ไขฉลากให้ถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ และให้ใช้ฉลากเดิมที่เหลืออยู่ต่อไป แต่ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับ
(ฉลากหรือกล่องที่พิมพ์ออกมาแล้วใช้ได้กับสินค้าในท้องตลาดได้ถึง 7 กรกฎาคม 2563 ค่ะ เนื่องจากประกาศฉบับนี้ได้ประกาศในวันที่ 8 กรกฎาคม และ เซนต์รับรองในวันที่ 12 กรกฎาคม 2562
ดังนี้ดู stock ของกล่องและฉลากที่จัดทำแล้วเรียบร้อยให้ดีนะคะ ถ้าใกล้หมดแล้วก็ต้องแก้แบบค่ะ เพราะกฎหมายบังคับแล้ว
แล้วก็บอกกราฟฟิกไว้เลยค่ะ ว่าแนวทางการออกแบบต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร จะได้ไม่ต้องกังวลใจว่าจะออกแบบได้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับใหม่หรือเปล่าค่ะ)
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามกับเจ้าหน้าที่ของพรีมา แคร์ กันได้เลยนะคะ เรามุ่งมั่นร่วมสรรสร้างแบรนด์ของคุณ อย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่ขัดต่อกฎหมายค่ะ
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
55/5 หมู่ 7 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
111/888 หมู่ 5 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
จันทร์ - เสาร์
08.30 - 17.30
ช่องทาง SOCIAL MEDIA สำหรับ PREMA CARE
เพื่อรับคำปรึกษาสร้างแบรนด์ทำแบรนด์