หลายๆท่านที่กำลังมองหา โรงงานผลิตอาหาร ผลิตอาหารเสริม อาจกำลังเลือกและสงสัยว่า เราจะรู้ได้ยังไง ว่าโรงงานไหน มีมาตรฐานจริง หรือมีมาตรฐานอะไรมารับรองได้ ว่าสินค้าของเรา จะปลอดภัย สุขลักษณะ เหมาะกับการบริโภคจริงๆ
หลายๆท่านที่กำลังมองหา โรงงานผลิตอาหาร ผลิตอาหารเสริม อาจกำลังเลือกและสงสัยว่า เราจะรู้ได้ยังไง ว่าโรงงานไหน มีมาตรฐานจริง หรือมีมาตรฐานอะไรมารับรองได้ ว่าสินค้าของเรา จะปลอดภัย สุขลักษณะ เหมาะกับการบริโภคจริงๆ
GHP ย่อมาจาก Good Hygiene Practice(s) คือการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับโรงงานผลิตอาหารหรือผู้ประกอบการ ที่อยู่ในช่วงโซ่อาหารควรจะนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อความปลอดภัย ของผู้บริโภค หรือจะกล่าวว่า GHPs คือ หลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหาร โดยมีหลักการคือการจัดการสภาวะแวดล้อมของการผลิตให้ดีถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรอนามัยโลกที่ต้องการให้อาหารมีความปลอดภัยตั้งแต่ การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร ที่เรียก “Farm To Talbe”หรือ “Farm To Falk” คือครอบคลุมตั้งแต่เริ่มต้นคือ การควบคุมวัตถุดิบ สถานที่ผลิต โครงสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์ และการบำรุงรักษา บุคลากรผู้ปฎิบัติงาน การแปรรูป การขนส่ง การบริการที่มีความเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งหากผุ้ประกอบการไม่ควบคุมการทำงานให้ดีในทุกขั้นตอน จะทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อน ผู้บริโภค เกิดอันตรายได้ จากอาหารที่ไม่ปลอดภัย
หากผู้ประกอบการในห่วงโซ่อาหารปล่อยปละละเลย ไม่ควบคุมการทำงานให้ดี จะทำให้อาหารที่ถึงผู้บริโภค เกิดอันตรายได้ในทุกขั้นตอน ซึ่งระบบนี้จะเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข ทางคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (CODEX) จึงกำหนดเป็นมาตรฐานจัดการด้านสุขลักษณะ สำหรับปฏิบัติที่ดีให้ผู้ประกอบการอาหารในห่วงโซ่อาหารนำไปปฏิบัติ และขอรับการตรวจประเมิน เพื่อขอเครื่องหมทย GHPs ซึ่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายนี้เอง จะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าหากเลือกซื้ออาหารผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GHP แล้วจะสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับตนเองหรือคนที่รัก
แล้วแตกต่างจาก GMP? ไหม GMP (GOOD MANUFACTURING PRACTICS)
GMP ย่อมาจากคำว่า GOOD MANUFACTURING PRACTICS หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี ถึงแม้จริงๆ จะไม่ได้ควบคุมเรื่องการผลิต เพียงอย่างเดียว แต่“Manufacturing” แปลว่า “การผลิต” ทำให้เกิดความสับสน กับบางอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต เช่น การจัดเก็บ การขนส่ง แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหาร โดยหลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคารระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย สะอาด และมีคุณภาพ ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ระบบควบคุมขั้นตอนการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บการควบคุมภาพและการขนส่งจนถึงผู้บริโภค รวมทั้งมีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ และระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอามัย (Sanitation และ Hygiene) ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัย เป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภคและ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ
ส่วน GHP ซึ่ง ตัว “H” ย่อมาจากคำว่า “Hygiene” เพื่อให้สามารถครอบคลุมอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “Food Chain” หรือ “ห่วงโซ่อาหาร” ว่าทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่เริ่มต้น การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ การเก็บเกี่ยว การจัดเก็บ การขนส่ง การแปรรูป ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ผู้ให้บริการจัดสัตว์พาหะ ตลอดจนผู้ขายอาหารล้วนมีส่วนสำคัญกับความปลอดภัยของ “ผู้บริโภคคนสุดท้าย” ทั้งสิ้นเพราะไม่ว่าจะ เกิดความผิดพลาดที่ขั้นตอนใดๆใน “ห่วงโซ่อาหาร” นี้ ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภคได้ทั้งสิ้น
ส่วนข้อกำหนดของ GHPs นั้นมี 9 ส่วน ดังนี้ (1) บทนำและการควบคุมอันตรายที่มีต่ออาหาร (2) การผลิตขั้นต้น (3) สถานประกอบการ- การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ (4) การฝึกอบรมและความสามารถ (5) การบำรุงรักษาสถานประกอบการ การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อ และการควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ (6) สุขลักษณะส่วนบุคคล (7) การควบคุมการปฏิบัติงาน (8) ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจต่อผู้บริโภค (9) การขนส่ง โดยระบบนี้จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีความปลอดภัยก่อนถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งเป็นพื้นฐานของระบบ HACCP อีกด้วย
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว GMP กับ GHP คือ ระบบมาตรฐานที่มีหลักการจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยถูกสร้างขึ้นเพื่อกำหนดเป็นข้อปฏิบัติในการสร้างสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร เพียงแต่สำนักงานอาหารและยา (อย.) จะเรียกว่า “GMP” ส่วนทางหน่วยงานคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (CODEX) จะเรียกว่า “GHP” ซึ่งจากเดิมเรียกว่า “GMP Codex” โดยมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาถึงครั้งที่ 4 จากเดิม GMP Rev.4 เป็น GHP ซึ่งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง เช่น
GHPs มีการเพิ่มข้อกำหนดในการควบคุม Allergen หรือ สารที่ก่อให้เกิดการแพ้ได้ เช่น ถั่ว แป้งสาลี โดยมีรายละเอียดการป้องกัน ในทุกขั้นตอนการผลิต การจัดเก็บ หรือ อุปกรณ์ที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคที่แพ้อาหารนั้น ๆ ได้รับประทานโดยที่ไม่ตั้งใจ ซึ่งเมื่อผู้ที่แพ้อาหารรับประทานเข้าไปแล้วมีอันตรายตั้งแต่แค่เป็นผื่นคัน หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การเพิ่ม Validate เพื่อพิสูจน์ยืนยันสำหรับบางมาตรการควบคุม ที่มีความสำคัญ เช่น กระบวนการทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับตัวผลิตภัณฑ์ ทำให้สร้างความมั่นใจว่าการทำความสะอาดด้วยวิธีต่างๆนั้น ทำให้ลดอันตรายด้านจุลินทรีย์ และสารเคมีต่างๆ ที่จะส่งผลให้อาหารมีการปนเปื้อน และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มีข้อกำหนด เพิ่มเติม เรื่องการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ และความรู้กับผู้บริโภคอย่างเพียงพอ โดยเป็นข้อมูลที่เหมาะสมเกี่ยวกับอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภค สามารถจัดการจัดเก็บ ดำเนินการ เตรียม และแสดงผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัย และถูกต้อง ผู้บริโภคสามารถ ระบุสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในอาหาร และสามารถระบุ และถอดล็อต หรือ แบทช์ได้อย่างง่ายดายหากจำเป็น
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว GMP กับ GHP คือ ระบบมาตรฐานที่มีหลักการจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยถูกสร้างขึ้นเพื่อกำหนดเป็นข้อปฏิบัติในการสร้างสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร เพียงแต่สำนักงานอาหารและยา (อย.) จะเรียกว่า “GMP” ส่วนทางหน่วยงานคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (CODEX) จะเรียกว่า “GHP”
มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคดังนี้
สร้างแบรนด์อาหารเสริมอย่างปลอดภัย อย่าลืมดูมาตรฐานโรงงงานผลิตอาหารเสริมทุกครั้ง อย่าลืมเลือกโรงงานรับผลิตสร้างแบรนด์อาหารเสริม ที่ได้รับมาตรฐาน GHPs นะคะ พรีมาแคร์ โรงงานผลิตสร้างแบรนด์อาหารเสริมผ่านการรับรอง มาตรฐาน GHPs ยินดีให้บริการค่ะ สนใจพัฒนาสูตร ผลิตสร้างแบรนด์อาหารเสริม ปรึกษาได้ทุกช่องทาง
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
55/5 หมู่ 7 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
111/888 หมู่ 5 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
จันทร์ - เสาร์
08.30 - 17.30
ช่องทาง SOCIAL MEDIA สำหรับ PREMA CARE
เพื่อรับคำปรึกษาสร้างแบรนด์ทำแบรนด์