ค้นพบประโยชน์ของกลูต้าไธโอนและวิธีใช้ พร้อมกับข้อควรระวังและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รูปแบบที่มีใช้ และขนาดรับประทานที่ปลอดภัย
กลูตาไธโอนคืออะไร จากบทความนี้ เราได้ทำความรู้จักและทราบ 4 ประโยชน์ของ กลูต้าไธโอน (glutathione) กันมาบ้างแล้ว แต่บทความนี้จะขอชวนมาทำความรู้จักกันกลูต้าไธโอนกันให้ลึกขึ้นกว่าเดิม กลูต้าไธโอนคืออะไร มีกี่รูปแบบ แล้วมีผลข้างเคียงกันร่างกายยังไงบ้าง ตามไปอ่านได้ที่บทความนี้เลยค่ะ
กลูต้าไธโอน (glutathione) จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เซลล์ร่างกายสามารถสังเคราะห์ กลูตาไธโอน(glutathione)ได้เอง จากกรดอมิโนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ซิสเตอิน (Cystein) ไกลซิน (Glycine) และ กลูตาเมท (Glutamate) เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายสามารถผลิตกลูตาไธโอนได้เอง และถูกผลิตมากที่สุดที่ตับ ปอด ไต ม้าม ตับอ่อน และเลนส์แก้วตา กลูต้าไธโอน (glutathione) มีทำหน้าที่ในการปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย
กลูตาไธโอน ในร่างกายจะลดน้อยลง หรือถูกผลิตขึ้นช้าลงและมีปริมาณน้อยลง คนเราเมื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี ปริมาณกลูตาไธโอน ในร่างกายจะลดลงเฉลี่ย 8-12% ต่อ 10 ปี
การที่กลูตาไธโอน (glutathione) ในร่างกายลดปริมาณลงในวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้คนสูงอายุมีความ ต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง ในทางตรงกันข้ามคนสูงอายุที่มีอายุยืนยาวและยังแข็งแรงมีสถิติพบว่าคน เหล่านั้น จะมีปริมาณกลูตาไธโอน (glutathione) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกลูตาไธโอนใน ร่างกายกับสุขภาพนั่นเองหรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่ากลูตาไธโอนมีส่วนสำคัญในขบวนการชะลอวัยของร่างกาย นักกีฬาและคนที่มีสุขภาพที่ดีออกกำลังกายเป็นประจำจะพบว่ามีปริมาณกลูตาไธโอนค่อนข้างสูง ในขณะที่มีสถิติทางการแพทย์ที่พบว่าอาการป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เชื่อมโยงกับการที่ร่างกายขาดกลูตาไธโอน หรือมีภาวะที่ร่างกายสังเคราะห์กลูตาไธโอนได้ต่ำกว่าปกติที่ร่างกายควรได้รับเช่น ภาวะโรคเอดส์ โรคมะเร็ง โรคปอด และในผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือ ผู้ที่มีกรรมพันธุ์เกี่ยวกับความบกพร่องของกลูตาไธโอน(glutathione) มักจะมีปัญหาโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท ซึ่งกลไกสำคัญของกลูตาไธโอน (glutathione) ในการต้านหรือชะลอวัยน่าจะมาจากคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสสระชนิดเข้มข้นที่ สังเคราะห์ได้จากทุกเซลล์ในร่างกายโดยธรรมชาตินั่นเอง การรักษาระดับกลูตาไธโอน(glutathione) ในร่างกายจึงสำคัญต่อการขบวนการชะลอวัย
ในทางการแพทย์มีการนำกลูตาไธโอน (glutathione) มาทดลองใช้ในการรักษาโรคต่างๆ เช่น รักษาอาการของโรคตับ เพื่อช่วยในการขับของเสียออกจากร่างกาย โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือเข้าที่กล้ามเนื้อ หากแต่ผลค้างเคียงที่ได้รับ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดกลูตาไธโอนนั้นมีสีผิวที่ขาวขึ้น เนื่องมาจากกลูตาไธโอนสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ได้ และส่งผลให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยนจากเม็ดสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้พยายามนำผลข้างเคียงของยามาใช้ในการทำให้ผิวขาวขึ้น แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่น่าเชื่อถือยืนยันหรือรับรองประสิทธิภาพและประโยชน์ของกลูตาไธโอนในการทำให้ผิวขาวได้อย่างแท้จริง จึงไม่น่าแปลกใจที่กลูตาไธโอนไม่ผ่านการรับรองข้อบ่งใช้โดยองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับทำให้ผิวขาว ดังนั้นหากจะนำกลูตาไธโอน (glutathione) มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว อาจจะเป็นการใช้ผิดประเภท จึงควรศึกษาข้อมูลอย่างนอบคอบ และ ใช้วิจารณญาณในการใช้
นอกจากกลูต้าไธโอนที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เอง เราอาจได้รับกลูต้าไธโอนจากแหล่งอื่น ๆ ดังนี้
กลูต้าไธโอนประกอบด้วยโมเลกุลกำมะถัน อาหารที่มีกำมะถันจึงมีส่วนช่วยเพิ่มการผลิตกลูต้าไธโอนในร่างกาย เช่น เนื้อปลาและเนื้อไก่ไม่ติดมัน ไข่ ผลิตภัณฑ์นม บรอกโคลี ดอกกระหล่ำ กะหล่ำดาว ปวยเล้ง หอมใหญ่ กระเทียม ถั่วและธัญพืช
การรับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริมบางชนิดอาจช่วยในการสร้างกลูต้าไธโอนของร่างกายได้ เช่น วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียม และเคอร์คิวมิน (Curcumin) รวมถึงกลูต้าไธโอนยังถูกสกัดเป็นอาหารเสริมในรูปแบบเม็ดหรือผงละลายน้ำสำหรับรับประทาน แต่กลูต้าไธโอนรูปแบบนี้มักไม่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เนื่องจากจะถูกย่อยในระบบทางเดินอาหารและกำจัดออกจากร่างกาย
ปริมาณกลูต้าไธโอน(glutathione) ที่เหมาะสมในการรับเข้าไปในร่างกายควรอยู่ที่ 60-250 กรัมต่อวัน
แม้ว่ากลูตาไธโอนจะถูกสังเคราะห์และพบมากในเกือบทุกเซลล์ในร่างกายคนเราแต่ไม่ได้หมายความว่าสารกลูตาไธโอนจะปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร สารจากธรรมชาติ มากมายที่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงในหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นในทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้เป็นอาหาร เสริมในระหว่างการตั้งครรภ์จะปลอดภัยที่สุด นอกเสียจากว่าได้รับการแนะนำให้ใช้ด้วยเหตุผลทางการแพทย์เป็นพิเศษ
นอกจากนี้ การได้รับกลูต้าไธโอนต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้ระดับสังกะสีในร่างกายลดลง และหากกลูต้าไธโอน(glutathione) สะสมในร่างกายในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การใช้กลูต้าไธโอนจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น โดยเฉพาะการฉีดกลูต้าไธโอน (glutathione)เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย เช่น การฉีดยาไม่ถูกวิธี และการติดเชื้อจากการฉีดยา
อ้างอิง :https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/
https://www.pobpad.com/กลูต้าไธโอนคืออะไร-ประโ
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
55/5 หมู่ 7 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
111/888 หมู่ 5 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
จันทร์ - เสาร์
08.30 - 17.30
ช่องทาง SOCIAL MEDIA สำหรับ PREMA CARE
เพื่อรับคำปรึกษาสร้างแบรนด์ทำแบรนด์